วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

วันที่ 15 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ 2560




ความรู้ที่ได้รับ The knowledge gained



ศูนย์เด็กเล็ก




ความหมายของศูนย์เด็กเล็ก

สถานที่ดำเนินการรับเลี้ยงเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี จำนวนตั้งแต่ 6 คนขึ้นไป โดยผู้ดำเนินการมิใช่ญาติกับเด็กซึ่งอาจมีคำเรียกแตกต่างกันไป เช่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์รับเลี้ยงเด็กก่อนเกณฑ์และสถานรับเลี้ยงเด็กเป็นต้น ความมุ่งหมายของการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่เพื่อเป็นการยกระดับพื้นฐานชีวิตและความเป็นอยู่ของเด็กปฐมวัยในศูนย์เด็กเล็กทุกคนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี


ความสำคัญของศูนย์เด็กเล็ก

            เป็นการจัดการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการของเด็ก ให้เด็กมีพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัยความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นการสร้างรากฐานชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์มีคุณค่าต่อตนเองและสังคมตามปรัชญาการศึกษาปฐมวัยของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546









ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย



ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย 

คือ ศูนย์เลี้ยงดูเด็กเล็กให้เจริญเติบโตและมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาที่สมบูรณ์

มหาวิทยาลัยมหิดล

-เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาชา พัฒนาการมนุษย์
-ก่อตั้ง สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว 
-มีการจัดตั้ง ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย

ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล

            โครงการจัดบริการรับเลี้ยงและพัฒนาเด็กกลางวัน ให้บริการรับเลี้ยงเด็กอายุ ๖ เดือน - ๓ ปี โดยแบ่งเด็กออกเป็น ๓ กลุ่มอายุเพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการได้เหมาะสม คือ กลุ่มเด็กอายุ ๖ เดือน ๑ ปี ๓ เดือน (ครู/พี่เลี้ยง ๑ คน ต่อเด็ก ๓ คน), กลุ่มเด็กอายุ ๑ ปี ๓ เดือน ๒ ปี (ครู/พี่เลี้ยง ๑ คน ต่อเด็ก ๔ คน) และ กลุ่มเด็กอายุ ๒ ๓ ปี (ครู/พี่เลี้ยง ๑ คน ต่อเด็ก ๗ คน) อัตราค่าบริการเดือนละ ๔,๐๐๐ บาท และค่าอุปกรณ์ส่วนตัวรายปี ๒,๐๐๐ บาท






โรงเรียนชั้นเตรียมประถม


โรงเรียนชั้นเตรียมประถม คือ

            เด็กมีสิทธิ์เริ่มเข้าชั้นเตรียมประถม เมื่อมีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป ชั้นเตรียมประถม เป็นการศึกษาอีกประเภทหนึ่ง ที่นำกิจกรรมสร้างสรรค์ และการเล่นเพื่อการเรียนรู้มาใช้เป็นส่วนใหญ่

ชั้นเตรียมประถมมีลักษณะเป็นอย่างไร 


                  ชั้นเตรียมประถม เป็นการศึกษาเชื่อมต่อจากชั้นอนุบาลไปสู่การศึกษาภาคบังคับหรือขั้นพื้นฐาน โดยจะผสมผสานรูปแบบการดำเนินงานและวิธีการ ระหว่างโรงเรียนอนุบาลและโรงเรียนขั้นพื้นฐานเข้าด้วยกัน



assessment (ประเมิน)


Classroom Evaluation

ห้องเรียนสะอาด เย็นสบายจนเกินไป  มีความเป็นระเบียบ

Self Evaluation

มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนดี  มีสมาธิ มีส่วนน้อยที่มาเรียนสาย 

Evaluation for classmated

เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน มาเรียนตรงตามเวลา 

Evaluating teacher


อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งกายมาสอนเรียบร้อย อธิบายเข้าใจง่าย



บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

วันที่ 1  เดือนกุมพาพันธ์ พ.ศ 2560


ความรู้ที่ได้รับ The knowledge gained


 นำเสนอคำคม


1.ไม่ต้องไปแข่งกับใครแข่งกับใจก็พอ 

พอเพียงรู้จักเพียงพอกับที่เรามี ความสุขมันอยู่ที่ใจ





2.หัวหน้าที่เก่งไม่ใช่คนสั่งลูกน้องให้ทำงานได้
แต่เป็นคนที่สามารถ ทำงานเป็นตัวอย่างให้ลูกน้องดูได้





3.ความสำเร็จของวันนี้  คือการคิดใหม่ ทำใหม่เท่านั้น





4.ทุกคนมีแสงสว่างในตัวเอง ดั่ง เทียนไข
แม้นจะอยู่ในความมืดมิดพอเพียงใช้ชีวิตอย่างมีหวัง





5.เราทำงานคนเดียวไม่ได้แต่ละคนมีดีคนละอย่าง ควรหันหน้าเข้าหากันทำงานด้วยกัน เอาส่วนรวมเป็นหลักมิใช่เอาตนเป็นใหญ่




ศูนย์รับเลี้ยงเด็ก




ความหมาย
           สถานที่รับเลี้ยงเด็กและพัฒนาเด็กที่มีอายุไม่เกินหกปีบริบูรณ์และมีจำนวนตั้งแต่หกคนขึ้นไป ซึ่งเด็กไม่เกี่ยวข้องเป็นญาติกับเจ้าของหรือผู้ดำเนินการสถานรับเลี้ยงเด็กดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่รวมถึงสถานพยาบาลหรือโรงเรียนของรัฐและเอกชน (พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546)

งานบริการศูนย์
1.การเลี้ยงดูเตรียมความพร้อมด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญาให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย และศักยภาพของเด็ก
2.ตรวจประเมินการเจริญเติบโตรวมทั้งพัฒนาการของเด็กอย่างต่อ
เนื่องสม่ำเสมอ
3.ให้คำแนะนำในด้านสุขภาพการป้องกันโรคการดูแลและแนวทาง ในการเลี้ยงดูบุตร แก่ บิดา มารดา
4.ให้คำแนะนำแก่มารดาที่มีปัญหาเกี่ยวกับการให้นมบุตรการพัฒนาการและสุขภาพเด็ก โดยผู้เชี่ยวชาญจากคลินิกเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
5.ให้คำแนะนำแก่มารดาที่มีปัญหาเกี่ยวกับการให้นมบุตร การพัฒนาการและสุขภาพเด็ก โดยผู้เชี่ยวชาญจากคลินิกเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คลินิกกระตุ้นพัฒนาการและกุมารแพทย์ของคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล
6.บริการอาหารเช้า อาหารกลางวัน พร้อมอาหารว่างมื้อบ่าย โดยมีโภชนาการจากฝ่ายโภชนาการของโรงพยาบาลศิริราช เป็นผู้จัดการอาหารร่วมกับพยาบาล และคณะกรรมการศูนย์


สถานศึกษาประเภท

โรงเรียนอนุบาล

Kindergarten



ความหมายของโรงเรียนอนุบาล

          โรงเรียนอนุบาล หรือ Kindergarten แปลตรงตัวว่า “Children’s garden” หมายถึง สวนเด็กเป็นสถานศึกษาก่อนวัยเรียน (Pre-school)พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ โรงเรียนอนุบาล เป็นสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับก่อนประถมศึกษารับเด็กที่มีอายุ 4 – ก่อน 7 ปี เป็นการศึกษาในลักษณะของการอบรมเลี้ยงดูและพัฒนาความพร้อมของเด็กเพื่อรับการศึกษาในระดับต่อไป

รูปแบบของโรงเรียนอนุบาล








ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ก่อนเกณฑ์ของสถาบันศาสนา




ความหมายของศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน

-ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน หมายความว่า สถานที่รับเลี้ยงเด็กและดูแลเด็กก่อนวัยเรียน ซึ่งตั้งอยู่ในชุมชน และดำเนินงานในรูปของคณะกรรมการภายใต้การควบคุมดูแลของคณะกรรมการชุมชน
-เด็กก่อนวัยเรียน หมายความว่า เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปี แต่ไม่เกิน 6 ปี


ศาสนาพุทธ

ศูนย์เด็กก่อนเกณฑ์วัดศิริพงษ์ธรรมนิมิต

แนวทางการเรียนการสอน

มีแนวทางปรับขบวนการการเรียนการสอนโดยยึดหลักพุทธธรรมนำชีวิต ใช้หลักธรรมของพระพุทธศาสนามาแปลงเป็นหลักสูตร ยึดหลักอริยสัจ ๔ และมีอริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นแนวทาง จึงเรียกว่าเป็น วิถีชีวิตแห่งสติ ต่อมาได้รับการสนับสนุนจากกรมการศาสนา และปัจจุบันได้รับการโอนถ่ายให้อยู่ในการสนับสนุนของสำนักสวัสดิการสังคม


ศาสนาอิสลาม

ศูนย์อบรมเด็กเล็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดเกาะนกคอม

แนวทางการพัฒนาของศ.ด.ม.เกาะนกคอม  บ้านเกาะศรีบอยา

          ส่งเสริมพัฒนาการ และเตรียมความพร้อมทางร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และลักษณะนิสัย ให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ เต็มตามศักยภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม ระเบียบวินัย และมีความพร้อมที่จะเข้ารับการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานต่อไป


ศาสนาคริสต์

สถานรับเลี้ยงเด็กรักนิรันดร์เนอสเซอรี่

ยุทธศาสตร์ 

ยุทธศาสตร์ที่1 พัฒนาสถานรับเลี้ยงเด็กให้ได้มาตรฐานในการบริหารจัดการตามมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติ
ยุทธศาสตร์ที่2 ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
ยุทธศาสตร์ที่3 พัฒนาเด็กให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานศูนย์เด็กแห่งชาติ


ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน


ศูนย์เด็กเล็กก่อนวัยเรียน

        สถานที่ ที่บิดา มารดา นำเด็กมาฝากเลี้ยงไว้เฉพาะกลางวัน เป็นศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนที่ตั้งอยู่ในชุมชน ในวัด หรือ ศูนย์สงเคราะห์เด็กในอาคาร เป็นสถานศึกษาที่ให้การอบรมเลี้ยงดู จัดประสบการณ์และส่งเสริมพัฒนาการ การเรียนรู้ให้เด็กเล็กที่มีอายุตั้งแต่ 2 5 ปี ให้มีความพร้อม ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา

หลักเกณฑ์การรับเด็ก  (รับเลี้ยงเฉพาะวันราชการ)
.รับเด็กตั้งแต่อายุ ปี ถึง ปี  เช้าไป - เย็นกลับ
.รับเด็กที่เป็นบุตรข้าราชการ  ลูกจ้างประจำกรมการขนส่งทหารบก, บุตรข้าราชการ ทหาร  ตำรวจ และประชาชนทั่วไป โดยจะพิจารณาในช่วงเดือน พฤษภาคม  ของทุกปี หรือเมื่อมีเด็กขาด , ลาออกก่อนกำหนด



สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย NURSERY



ความหมายสถานพัฒนาเด็ก

     ความหมายของสถานพัฒนาเด็กอธิบายตามพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2 )พ.ศ.2545 กล่าวไว้ใน มาตราที่18 สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยคือกระทรวงการศึกษาที่ทำหน้าที่จัด การศึกษาให้กับเด็กปฐมวัยที่จัดในรูปของศูนย์เด็กเล็กศูนย์พัฒนาเด็กก่อนเกณฑ์ของสถานบันศาสนา ศูนย์บริการช่วยเหลือระยะเริ่มแรกของเด็กพิการ และเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

เนอร์สเซอรี่ คือ

            สถานที่รับเลี้ยงดูเด็กเล็กก่อนวัยอนุบาล ซึ่งเรา สามารถเรียกว่าเป็น สถานรับเลี้ยงเด็กโดยส่วนใหญ่จะรับ เลี้ยงดูเด็กเล็กอายุแรกเกิดถึง 3 ขวบ แต่บางแห่งอาจรับเฉพาะใน ระดับ 2-3 ขวบ คือระดับ เตรียมอนุบาลและบางแห่งอาจรับดูแล เด็กอายุแรกเกิดถึง 6 ขวบ (เตรียมประถม)


assessment (ประเมิน)


Classroom Evaluation

ห้องเรียนสะอาด เย็นสบายจนเกินไป  มีความเป็นระเบียบ

Self Evaluation

มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนดี  มีสมาธิ มีส่วนน้อยที่มาเรียนสาย 

Evaluation for classmated

เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน มาเรียนตรงตามเวลา 

Evaluating teacher

อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งกายมาสอนเรียบร้อย อธิบายเข้าใจง่าย


บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

วันที่  25 เดือนมกราคม พ.ศ 2560






ความรู้ที่ได้รับ The knowledge gained


 นำเสนอคำคม

1.ลองมองปัญหาให้มันเป็นกล้องถ่ายรูป
   เวลาเจอแล้วต้องยิ้มสู้และชูสองนิ้ว




2.ชีวิตการทำงานถ้าเดินบนทางเรียบ
   เราจะได้เรียนรู้แค่ระยะทาง
   แต่ถ้าปีนเขา เราจะได้ทั้งระยะทางและความสูง



3.เจ้านายคือคนที่ช่วยให้ลูกน้อง เกิดพลังอยากทำงาน



บทบาทของผู้บริหาร ผู้นำในยุคโลกาภิวัตน์

     เมื่อกล่าวถึงผู้นำ คนส่วนใหญ่จะคิดถึงภาพของผู้ที่มีอำนาจ มีตำแหน่งใหญ่โต มีอิทธิพล ต่อผู้อื่น ผู้นำที่ยิ่งใหญ่สามารถสั่งการได้ หรือเดินตามในทิศทางที่ผู้นำก้าวเดินหรือกำหนดให้ ผู้คนเกรงกลัว

ความรู้เกี่ยวกับผู้นำ


ความหมายและประเภทของผู้นำ     

ผู้นำ (Leader) หมายถึง บุคคลที่มีศิลป บุคลิกภาพ ความสามารถ เหนือบุคคลทั่วไป สามารถชักจูงให้ผู้อื่นปฏิบัติตามที่ต้องการได้


ประเภทของผู้นำ
1.ผู้นำตามอำนาจหน้าที่
1.1 ผู้นำแบบใช้พระเดช  (Legal Leadership)

1.2  ผู้นำแบบใช้พระคุณ  (Charismatic Leadership)

1.3  ผู้นำแบบพ่อพระ  (Symbolic Leadership)

2.  ผู้นำตามการใช้อำนาจ

2.1 ผู้นำแบบเผด็จการ   (Autocratic Leadership)

2.2  ผู้นำแบบเสรีนิยม (Laisser-Faire Leadership) หรือ Free-rein Leadership

2.3  ผู้นำแบบประชาธิปไตย (Democratic Leadership)


3.  ผู้นำตามบทบาทที่แสดงออก
3.1  ผู้นำแบบบิดา-มารดา (Parental Leadership)

3.2  ผู้นำแบบนักการเมือง  (Manipulater Leadership)

3.3  ผู้นำแบบผู้เชี่ยวชาญ  (Expert Leadership)


ศูนย์วิจัยของมหาวิทยาลัย Michigan ได้ศึกษาพฤติกรรมของผู้นำ แบ่งออกเป็น 2 แบบ             

1. ผู้นำที่มุ่งคน (Employee Oriented) คือผู้นำที่เน้นความมีสัมพันธภาพที่ดีกับพนักงาน กับบุคคลทั่วไป ยอมรับฟังความคิดเห็นของพนักงาน            

2. ผู้นำที่มุ่งงาน (Production Oriented) เน้นวิธีการปฏิบัติงานและผลงานที่จะได้ มองพนักงานเป็นเพียงเครื่องมือที่ทำให้เกิดผลงาน


คุณสมบัติของผู้นำ1. ความมุ่งมั่น (drive)

2. แรงจูงใจในการเป็นผู้นำ (Leadership Motivation)

3. ความซื่อสัตย์ (Integrity)

4. ความเฉลียวฉลาด (Intelligence)

5. ความมั่นใจในตัวเอง (Self-confidence)

6. ความรอบรู้ในสิ่งที่ตนเองทำ (Knowledge of the Business)


ภาวะผู้นำ (Leadership)1.ผู้นำโดยกำเนิด

2. ผู้นำที่มีความอัจฉริยะ

3. ผู้นำที่เกิดขึ้นตามสายงานบริหาร

4.  ผู้นำตามสถานการณ์


บทบาทหน้าที่ของผู้นำ

1. ชี้แนะ ให้คำปรึกษา กำกับดูแล (Coaching)

2. เปลี่ยนทัศนคติลึก ๆ ในตัวคน

3. ดึงศักยภาพที่มีอยู่ โดยไม่ต้องเอาความรู้ข้างนอกมามากนัก

4. ทำให้สถานที่ทำงานเป็นที่รักของพนักงาน

5. Full fill Basic Need ให้คนในองค์การ เช่น ให้ตำแหน่ง

6. ดึงคนให้หลุดพ้นจากความเห็นแก่ตัว ทัศนคติต้องเปลี่ยน


ผู้บริหารแบ่งออกเป็น 5 ประเภท

1.  ผู้บริหารทำหน้าที่สั่งการ  (Line Manager)
2.  ผู้บริหารทำหน้าที่ให้คำแนะนำ  (Staff  Manager)
3.  ผู้บริหารทำหน้าที่สั่งการเฉพาะด้าน  (Functional Manager)
4.  ผู้บริหารทั่วไป  (General Manager)
5.  ผู้บริหาร (Administrator)


assessment (ประเมิน)


Classroom Evaluation

ห้องเรียนสะอาด เย็นสบายจนเกินไป  มีความเป็นระเบียบ

Self Evaluation

มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนดี  มีสมาธิ มีส่วนน้อยที่มาเรียนสาย 

Evaluation for classmated

เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน มาเรียนตรงตามเวลา 

Evaluating teacher

อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งกายมาสอนเรียบร้อย อธิบายเข้าใจง่าย